เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.ทานวรรค 8.สัปปุริสสูตร
5. สัตบุรุษย่อมเลือกให้1 6. สัตบุรุษย่อมให้เป็นนิตย์
7. สัตบุรุษกำลังให้ก็ทำจิตให้ผ่องใส 8. สัตบุรุษครั้นให้แล้วก็ดีใจ
ภิกษุทั้งหลาย สัปปุริสทาน 8 ประการนี้แล
สัตบุรุษย่อมให้ทาน คือ
ให้น้ำและโภชนะที่สะอาด ให้ของที่ประณีต
ให้ตามกาล ให้ของที่สมควร ให้เป็นนิตย์
ในท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ผู้เป็นเขตดี
บริจาคอามิสมากมายก็ไม่เดือดร้อน
ท่านผู้เห็นแจ้งย่อมสรรเสริญทานที่สัตบุรุษให้แล้วอย่างนี้
บัณฑิตผู้มีปัญญา มีศรัทธา มีใจเสียสละ บูชาอย่างนี้
ย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุข
สัปปุริสทานสูตรที่ 7 จบ

8. สัปปุริสสูตร
ว่าด้วยคุณประโยชน์ของสัตบุรุษ
[38] ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเมื่อเกิดในตระกูล ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อ
เกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก คือ
1. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่มารดาบิดา
2. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่บุตรภรรยา
3. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ทาส กรรมกร และคนใช้

เชิงอรรถ :
1 เลือกให้ในที่นี้หมายถึงเลือกสิ่งที่ไม่ดีออก แล้วถวายแต่สิ่งที่ดีด้วยการแสวงหาปฏิคาหก คือ พระทักขิไณย-
บุคคลและการตั้งความปรารถนาว่า ‘ถวายแก่ท่านรูปนี้จักมีผลมาก ถวายแก่ท่านรูปนี้จักไม่มีผลมาก’
(องฺ.อฏฺฐก.อ.3/37/256-257)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :297 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต [1.ปฐมปัณณาสก์] 4.ทานวรรค 8.สัปปุริสสูตร
4. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่มิตรและอำมาตย์1
5. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
6. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่พระราชา
7. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เหล่าเทวดา
8. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่สมณพราหมณ์
ภิกษุทั้งหลาย ก้อนเมฆใหญ่เมื่อตกลงมาให้ข้าวกล้าทั้งปวงเจริญงอกงาม ย่อม
ตกเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเมื่อเกิดในตระกูล ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเกิดเพื่อ
ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก คือ
1. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่มารดาบิดา
2. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่บุตรภรรยา
3. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ทาส กรรมกร และคนใช้
4. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่มิตรและอำมาตย์
5. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
6. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่พระราชา
7. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่เหล่าเทวดา
8. ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่สมณพราหมณ์
สัตบุรุษผู้มีปัญญาอยู่ครองเรือน
เป็นผู้ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืนและกลางวัน
ย่อมเกิดเพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก
เมื่อระลึกถึงอุปการคุณที่มารดาบิดาทำไว้ก่อน
ย่อมบูชามารดาบิดาโดยชอบธรรม2
สัตบุรุษผู้มีศรัทธาตั้งมั่นแล้ว
และมีศีลเป็นที่รัก รู้ธรรมแล้ว

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 สัตตกนิบาต ข้อ 64 หน้า 127 ในเล่มนี้
2 โดยชอบธรรม ในที่นี้หมายถึงโดยการบูชาด้วยปัจจัยที่มีเหตุ (องฺ.อฏฺฐก.อ.3/38/257)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :298 }